วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.การพัฒนากลยุทธ์ = Strategy Development
2.แฟ้มสะสมงาน = Application Portfolios
3.สถาปัตยกรรมเทคโนโลยี Technology Architecture
4.ความท้าทายเศรษฐกิจภูมิภาค Geoeconomics Challenges
5.การจัดการทรัพยากร = Resource Management
6.การวิเคราะห์การพิมพ์ Keystroke analysis
7.การจัดการข้อมูล Data Management
8.การจัดการไอทีไร้พรมแดน Global IT Management
9.เทคโนโลยีแบบแนวราบ = Technology Platforms
10.การพัฒนาระบบ = Systems Development

บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. ความล้มเหลวในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
  1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
  2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
  3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
  1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ
ประเด็นปัญหาและอุปสรรคต่อมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ประเด็นแรก เกี่ยวกับ Hardware สถานศึกษาหลายแห่งโดยเฉพาะที่อยู่ชนบทห่างไกล หรือเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนเครื่องไม่เพียงพอ ขาดงบประมาณสนับสนุน เครื่องที่ได้จากการบริจาคบางที่เป็นเครื่องที่ล้าสมัย ความเร็วต่ำ จำนวนเครื่องต่อคนใช้ในอัตราสูง ( สถานศึกษาร้อยละ 55 ใช้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 20 คน ร้อยละ 25 ใช้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 21-40 คน ส่วนที่เหลือมีสัดส่วนนักเรียนมากกว่า 40 คนต่อ 1 เครื่อง : ข่าวสด หน้า 28 - วันที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6306 )
ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับ Software เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีด้านโปรแกรม เป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการพัฒนาโปรแกรมใช้งานของโรงเรียนให้ทันสมัยอยู่เสมอก็เป็นเรื่องลำบาก ติดปัญหาตรงที่สภาพเครื่องไม่รองรับโปรแกรมบ้าง ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง
ประเด็นที่สาม คือด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนให้ความสำคัญกับการมีเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆในโรงเรียน (เพราะมีผลต่อการประเมินภายนอกของ สมศ. ในมาตรฐานที่ 5 และ 10 ด้วย) แต่ยังประสบปัญหาด้านงบประมาณในการจัดหา ดูแลรักษา ระบบการวางแผนใช้งาน และการติดตามประเมิน
ประเด็นที่สี่ คือด้านบุคลากรซึ่งถือว่าเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ เพราะเหล่านโยบาย มาตรฐานต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากบุคลากร โดยเฉพาะครู ปัญหาการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับบุคลากรซึ่งมักจะได้ยินได้ฟัง หรือพบเห็นตามสื่อสิ่งพิมพ์ บนกระทู้ต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต เช่น โรงเรียนขาดครูที่จบทางด้านนี้โดยตรง ครูไม่มีความรู้ด้านการใช้งาน ICT ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะจัดงบประมาณส่งเสริมด้านนี้ในแต่ละปีมากพอสมควร แต่พฤติกรรมหลังการอบรมแล้วครูไม่ได้ใช้ความรู้จากการอบรม หรือใช้ก็ส่วนน้อย อาจจะติดขัดที่เรื่องประเด็นเวลา หรือภาระงานที่มากเกินไป หรือบางครั้งเมื่อนำไปใช้แล้วประสบปัญหาเกิดความท้อถอย ปัญหาด้านทัศนคติของครูต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจจะเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเรื่องยุ่งยาก ซึ่งอาจจะมาจากเรื่องของภาษาในโปรแกรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโปรแกรมซับซ้อนเข้าใจยาก ปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้งาน ที่พบบ่อย ๆ คือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องพิมพ์ดีดราคาแพง นักเรียนใช้เครื่องเพื่อการบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีมากกว่าการใช้เพื่อการเสาะแสวงหาความรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องการเห็นการนำมาใช้อย่างจริงจังเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ คำตอบที่สำคัญจึงอยู่ที่ตัวครู ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ เพราะครูคือพลังขับเคลื่อนการศึกษาที่สำคัญ หากครูไม่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียนการสอน อย่างจริงจัง ครูยังใช้วิธีการสอนแบบเดิม ๆ และไม่พัฒนาศักยภาพด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว แนวนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาที่กำหนดขึ้นมาก็คงเป็นแค่ความหวังที่อยากให้มี มากกว่าที่จะเป็นรูปธรรมจริง
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งได้เป็น
1. ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา มีสถานศึกษาจานวนหนึ่งที่โทรศัพท์ยังเข้าไม่ถึง และคอมพิวเตอร์ยังไม่มีหรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และที่มีอยู่ก็ขาดการบำรุงรักษา รวมทั้งไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะคู่สายโทรศัพท์ยังมีบริการไม่ทั่วถึง อาจจะเป็นไปได้ว่าสถานศึกษาเหล่านี้อยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกล ดังนั้นสถานศึกษาต้องรีบดำเนินการเพราะเป็นพื้นฐานที่จะไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
2. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครูน้อยมาก และคอมพิวเตอร์มีจำนวนไม่พอกับความต้องการที่ครูจะใช้
แสดงให้เห็นว่าครูยังต้องได้รับการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกเป็นจำนวนมาก และสถานศึกษาก็ต้องจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของครู
3. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา สถานศึกษายังขาดรูปแบบระบบสารสนเทศ ผู้บริหารให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่าสถานศึกษายังไม่มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผู้บริหารต้องได้รับการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีสารเสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะนำมาพัฒนาการบริหารจัดการและการบริการทางการศึกษา
4. ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาตนเองของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังขาดความต่อเนื่อง บางคนใน 3 ปีที่ผ่านมายังไม่เคยไปเข้ารับการฝึกอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเลย แสดงให้เห็นว่า ครูได้รับการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังไม่ทั่วถึงเพราะมีครูอีกจำนวนหนึ่งที่ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมายังไม่เคยได้รับการอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเลย
สรุป
ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาอาจเกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ ตามมา ทั้งผลกระทบต่อผู้ใช้นวัตกรรมคือผู้สอน หรือผู้บริหาร และผลกระทบต่อผู้เรียน เช่น ปัญหาการปรับพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี ปัญหาด้านงบประมาณในการจัดหาเทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากผลกระทบต่อการศึกษาโดยตรงแล้วยังมีผลกระทบต่อด้านอื่น เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาต่อเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาควรเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของสิ่งเหล่านี้ เพื่อเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษามากที่สุด

บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. หน้าที่การจัดการของระบบสารสนเทศ
       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก ประการคือ
          
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ
         2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร
 
  รูปที่ หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ชุมพล ศฤงคารศิริ (2537 : 2) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ เป็นระบบที่รวม (integrate) ผู้ใช้ (user) เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ (machine) เพื่อจัดทำสารสนเทศ สำหรับสนับสนุน การปฏิบัติงาน (operation) การจัดการ (management) และการตัดสินใจ (decision making) ในองค์กรจาก ความหมายที่กล่าวมาสามารถสรุปความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้คือ การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ทั้งจากภายใน และภายนอก หน่วยงาน เพื่อนำมาประมวลผล และจัดรูปแบบ ให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับองค์การ ในการช่วยในการตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมของผู้บริหาร ในอันที่จะ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คำศัพท์บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม

1.Introduction=การแนะนำ
2.Computer=คอมพิวเตอร์
3.Crime=อาชญากรรม
4.Security=ความปลอดภัย
5.Measures=การวัด
6.Audits=ตรวจสอบ
7.Society=สังคม
8.Challenge=ท้าทาย
9.Tube=หลอด
10.Guidelines=แนวทาง



บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม

2. วิธีแก้ปัญหาทางสังคม

       โลกปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่า ยุคไอที ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น นอกจากจะมีผลดีแล้วแต่ก็ยังเป็นช่องทางหนึ่ง ให้มิจฉาชีพเข้ามาแสวงหาประโยชน์อย่างผิดกฎหมาย หรือทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ที่มีความซ้อน ซึ่งเรียกว่า ‘’ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ‘’ ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นปัญหาทางสังคมอย่างหนึ่งที่กำลังเพิ่มความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่สังคมทั่วไป

1.1 ความหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
1. การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์ เช่น การลักทรัพย์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. การกระทำใด ๆ ที่เป็นความปิดทางอาญา ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดนั้น เช่น การบิดเบือนข้อมูล (Extortion) การเผยแพร่รูปอนาจารผู้เยาว์ (child pornography) การฟอกเงิน (money laundering) การฉ้อโกง (fraud) การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ให้ผู้อื่นดาวน์โหลด เรียกว่า การโจรกรรมโปรแกรม (software Pirating) หรือการขโมยความลับทางการค้าของบริษัท (corporate espionage) เป็นต้น

1.2 ประเภทของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
       ปัจจุบันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแบ่งได้ 9 ประเภท ดังนี้
1) อาชญากรรมที่เป็นการขโมย โดยขโมยจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (internet service provider) หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงการขโมยข้อมูล ของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ เช่น การขโมยข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี เป็นต้น
2) อาชญากรรมที่ใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ขยายความสามารถในการกระทำความผิดของตน รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดหรือกลบเกลื่อนการกระทำของตนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ ด้วยการตั้งรหัสการสื่อสารขึ้นมาเฉพาะระหว่างหมู่อาชญากร ด้วยกันซึ่งผู้อื่นมาสามารถเข้าใจได้ เช่น อาชญากรค้ายาเสพติดใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายยาเสพติด เป็นต้น
3) การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลง เช่น การปลอมแปลงเช็ค การปลอมแปลงสื่อมัลติมีเดีย รวมถึงการปลอมแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4) การใช้คอมพิวเตอร์เผยแพร่ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ลามกอนาจาร รวมถึงข้อมูลที่มีผลกระทบทางลบต่อวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนข้อมูลที่ไม่สมควรเผยแพร่ เช่น วิธีการก่ออาชญากรรม สูตรการผลิตระเบิด เป็นต้น
5) การฟอกเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ทำให้สามารถเปลี่ยนทรัพย์สิน ที่ได้จากการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธเถื่อน ธุรกิจสินค้าหนีภาษี การเล่นพนัน การละเมิดลิขสิทธิ์ การปลอมแปลงเงินตรา การล่อลวงสตรีและเด็กไปค้าประเวณี เป็นต้น ให้มาเป็นทรัพย์สินที่ถูกกฎหมาย
6) อันธพาลทางคอมพิวเตอร์และผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตั้งแต่การรบกวนระบบจนกระทั่งการสร้างคมเสียหายให้กับระบบโดยการเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วทำลาย ตัดต่อ ดัดแปลงข้อมูลหรือภาพ เพื่อรบกวนผู้อื่น สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ การเข้าไปแทรกแซงทำลาย ระบบเครือข่ายของสาธารณูปโภค เช่น การจ่ายน้ำ การจ่ายไฟ การจราจร เป็นต้น
7) การหลอกค้าขายลงทุนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การประกาศโฆษณา การชักชวนให้เริ่มลงทุนแต่ไม่ได้มีกิจการเหล่านั้นจริง เป็นต้น
8) การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ โดยการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตน เช่น การเจาะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปแล้วแอบล้วงความลับทางการค้า การดักฟังข้อมูล เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ต่อกิจการของตน เป็นต้น
9) การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดัดแปลงข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือการโอนเงินจากบัญชีหนึ่ง เข้าไปอีกบัญชีหนึ่ง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายทรัพย์สินกันจริง
1.2 ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์1) ความยากง่ายในการตรวจสอบ ว่าอาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ใด อย่างไร ทำให้เกิดความยากลำบากในการป้องกัน 
2) การพิสูจน์การกระทำผิดและการตามรอยของความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดที่เกิดขึ้นโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การที่มีผู้เจาะระบบเข้าไปฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และแก้ไขโปรแกรมการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทำให้แพทย์รักษาผิดวิธี ซึ่งตำรวจไม่สามารถสืบทราบและพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด
3) ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่าง ไปจากหลักฐานของคดีอาชญากรรม แบบธรรมดาอย่างสิ้นเชิง
4) ความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชยากรรมเหล่านี้มักเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งกฎหมายของแต่ละประเทศอาจครอบคลุมไปไม่ถึง
5) ปัญหาความไม่รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของเจ้าพนักงาน หรือเจ้าพนักงานดังกล่าวมีงานล้นมือ โอกาสที่จะศึกษาเทคนิคหรือกฎหมายใหม่ ๆจึงทำได้น้อย
6) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากจนหน่วยงานที่รับผิดชอบตามไม่ทัน 

1.3 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
1. มีการวางแนวทางและเกณฑ์ในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และช่วยให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการทราบว่าพยานหลักฐานเช่นใด้ควรนำเข้าสู่การพิจารณาของศาล จะได้ลงทาผู้กระทำความผิดได้
2. จัดให้มีผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานในคดีอาชยากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินคดี
3. จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะในการปราบปราม และการดำเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. บัญญัติกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมการกระทำอันเป็นความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทุกปะเภท
5. ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งโดยสนธิสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาหรือโดยวิธีอื่นในการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี และการปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
6. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆให้เข้าใจแนวคิดและวิธีการ ของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันตนเองเป็นเบื้องต้น
7. ส่งเสริมจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไปในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง โดยการปลูกฝังเด็กตั้งแต่ในวัยเรียนให้เข้าในกฎเกณฑ์ มารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างถูกวิธีและเหมาสม

2. มารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น 
2. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
3. ไม่เจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตนเองและผู้อื่น
4. ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่นและไม่ใช้เครือข่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต
5. การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ มี 4 ข้อดังนี้
1. การป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งรหัสเข้าข้อมูลชองไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกัน
2. การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใส่ชื่อ Username และ password, การใช้สมาร์ทการ์ดในการควบคุมการใช้งาน หรือกุญแจเพื่อการป้องกันการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ เช่น ตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ลายเซ็น ม่ายตา เป็นต้น
3. การสำรองข้อมูล โดยไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียว สามารถสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้อ่านอย่างเดียว เช่น แผ่นซีดีและแผ่นวีดีโอ
4. การตั้งค่าโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้

บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม

1. เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ




 
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานสำนักงานและอุตสาหกรรมทั่วไป คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ต่อสรีระร่างกายและจิตใจของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จะมีมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านสายตา ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก ผิวหนัง รวมไปถึงผลกระทบต่อทารกในครรภ์ คำถามเหล่านี้ได้กระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งมาตรการการป้องกันทางด้านเออร์โกโนมิคส์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง 


รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสายตาและต้อกระจก ปัญหาความผิดปกติของทารกในครรภ์และปัญหาผื่นคันตามผิวหนัง อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO press
release, 1998) ได้สรุปถึงปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้คือ 


- ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสายตาและต้อกระจกในการทำงานกับคอมพิวเตอร์แต่อาจพบปัญหาตาล้า และอาการปวดศีรษะ ได้จากการเพ่งมองจอภาพคอมพิวเตอร์ที่มีแสงจ้า หรือแหล่งแสงสว่างสะท้อนอยู่ที่จอภาพเป็นเวลานาน 

- รายงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาและการศึกษาในสัตว์ทดลอง หลายๆ ฉบับไม่สามารถอธิบายได้ถึงผลกระทบของรังสีจากภาพคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเครียด ความกังวลและท่าทางของการทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นปัจจัยทางเออร์โก-โนมิคส์ อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ 

- ปัญหาผื่นคันตามผิวหนังในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากการทดสอบในห้อง
ปฏิบัติการว่ามีสาเหตุมาจากการสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงคลื่นความถี่ที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอม-พิวเตอร์ 

สำหรับการศึกษาวิจัยทางสรีระวิทยาของตาในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 35 คน โดย สสิธร และ Saito (ปีพ.ศ. 2536) ได้ข้อแนะนำในการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้

(1) จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา เพื่อการมองลงขณะทำงานซึ่งสบายตากว่าการมองขึ้น
(2) ระยะในการมองควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซ.ม. และ
(3) จอภาพคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะ ตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับการส่องสว่างของแสง 500 ลักซ์
 




เมตตา (ปี พ.ศ.2538) ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 40 คน โดยพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่สายตาสั้น มักเกิดความล้าของตาและสายตาสั้นลงชั่วคราวมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสายตาปกติ นอกจากนี้ สมพร (ปี พ.ศ.2539) ยังพบปัญหาความล้าของตาเกิดขึ้นหลังจากทำงานกับคอมพิวเตอร์ผ่านไปแล้ว 1 ชั่วโมง และหายเป็นปกติหลังจากหยุดพัก 10 นาที 



ภาพแสดงถึงการจัดและปรับสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม



กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากหลายๆ หน่วยงานรวมทั้งสิ้น 152 คน พบว่า สภาพการทำงานส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมต่อการทำงาน โดยเฉพาะการจัดสถานีงาน ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 92% ที่ทราบถึงผลกระทบต่อตา ในขณะที่มีเพียง 3% ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ สำหรับปัญหาความเครียดนั้น ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้ (สสิธร และคณะ 2537) และในปี พ.ศ. 2538 กองอาชีวอนามัยได้ดำเนินการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ในกรมอนามัย ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 71 เครื่อง โดยใช้เครื่อง วัดรังสี VDT Radiation Survey Meter, MI 3600 พบว่า ระดับรังสีคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ลดระดับลงมากตามระยะทางที่ห่างจากจอภาพออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับ 30 ซ.ม. ห่างจากด้านหน้าของจอภาพ ระดับรังสีนั้นลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มักนั่งห่างจากจอภาพโดยประมาณ 50-70 ซ.ม. นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นกรองแสงที่ใช้ติดหน้าจอภาพโดยทั่วไป ช่วยลดระดับการสัมผัสรังสีลงได้บ้าง (กราฟที่ 1 และ 2) การศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่า การทำงานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัย ที่มีผลมาจากรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังเช่นหลายๆ คนกังวลกันอยู่ (สสิธร และธรณพงศ์. 2539) 


ข้อเสนอแนะในการจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์ 


ภาพที่ 1 แสดงถึง การจัดและปรับสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน ควรปรับระดับที่เหมาะสมของสถานีงานของตนเอง เพื่อให้ได้ท่าทางการนั่งทำงานที่เหมาะสมที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย คำแนะนำในการจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ คือ 

- จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา 
- ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซ.ม. 
- เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือ โต๊ะปรับระดับความสูงได้ 
- นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง และ 
- จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่างภายใต้ระดับความส่องสว่างของแสง ประมาณ 300-500 ลักซ์

คำศัพท์บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.System analyst : นักวิเคราะห์ระบบ
2.Simulation : การจำลอง
3.Multiprocessing : การประมวลผลหลายตัว
4.network data structure : โครงสร้างข้อมูลแบบเครือข่าย
5.nonvolatile storage : หน่วยความจำไม่ลบเลือน
6.Mouse : เมาส์
7.String : อักขระ
8.Structured programming : การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง
9.System : ระบบ
10.Program : ชุดคำสั่ง


บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. การพัฒนาผู้ใช้

ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์ 
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ 
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค 
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) 


หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1)  คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2)  เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
     -  ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
                     -  รวบรวมและกำหนดความต้องการ
     -  หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
     -  ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
     -  สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3)  กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4)  กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5)  ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6)  เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7)  แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8)  ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 
-  การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
          -  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
-  การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
-  การออกแบบระบบ (System Design)
          -  การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
-  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
1.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
          2.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ   
          เพื่อต้องการความชัดเจน
3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ
4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC)  เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้  ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์ 

บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)
       ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ 
1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition) 
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) 
3. วิเคราะห์ (Analysis) 
4. ออกแบบ (Design) 
5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction) 
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion) 
7. บำรุงรักษา (Maintenance)

ขั้นที่ 1 : เข้าใจปัญหา (Problem Recognition) 

ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่าต้องการระบบสารสนเทศหรือระบบจัดการเดิม ได้แก่ระบบเอกสารในตู้เอกสาร ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน 
ปัจจุบันผู้บริหารตื่นตัวกันมากที่จะให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานของตน ในงานธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือใช้ในการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัทของเรา จำกัด ติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายหลายบริษัท ซึ่งบริษัทของเราจะมีระบบ MIS ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่บริษัทขอเราติดค้างผู้ขายอยู่ แต่ระบบเก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ขายมีระบบเก็บข้อมูลถึง 900 ราย และอนาคตอันใกล้นี้จะเกิน 1,000 ราย ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงเรียกนักวิเคราะห์ระบบเข้ามาศึกษา แก้ไขระบบงาน 
ปัญหาที่สำคัญของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน คือ ระบบเขียนมานานแล้ว ส่วนใหญ่เขียนมาเพื่อติดตามเรื่องการเงิน ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจ แต่ปัจจุบันฝ่ายบริหารต้องการดูสถิติการขายเพื่อใช้ในการคาดคะเนในอนาคต หรือความต้องการอื่นๆ เช่น สินค้าที่มียอดขายสูง หรือสินค้าที่ลูกค้าต้องการสูง หรือการแยกประเภทสินค้าต่างๆที่ทำได้ไม่ง่ายนัก 
การที่จะแก้ไขระบบเดิมที่มีอยู่แล้วไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก หรือแม้แต่การสร้างระบบใหม่ ดังนั้นควรจะมีการศึกษาเสียก่อนว่าความต้องการของเราเพียงพอที่เป็นไปได้หรือไม่ ได้แก่ "การศึกษาความเป็นไปได้" (Feasibility Study)

สรุป ขั้นตอนที่ 1: เข้าใจปัญหา 
หน้าที่ : ตระหนักว่ามีปัญหาในระบบ 
ผลลัพธ์ : อนุมัติการศึกษาความเป็นไปได้ 
เครื่องมือ : ไม่มี 
บุคลากรและหน้าที่ความรับผิดชอบ : ผู้ใช้หรือผู้บริหารชี้แจงปัญหาต่อนักวิเคราะห์ระบบ

ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) 

จุดประสงค์ของการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ การกำหนดว่าปัญหาคืออะไรและตัดสินใจว่าการพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศ หรือการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ปัญหาต่อไปคือ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและบุคลากร ปัญหาทางเทคนิคก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือเก่าๆถ้ามี รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ด้วย ตัวอย่างคือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในบริษัทเพียงพอหรือไม่ คอมพิวเตอร์อาจจะมีเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ รวมทั้งซอฟต์แวร์ ว่าอาจจะต้องซื้อใหม่ หรือพัฒนาขึ้นใหม่ เป็นต้น ความเป็นไปได้ทางด้านบุคลากร คือ บริษัทมีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่มีจะหาได้หรือไม่ จากที่ใด เป็นต้น นอกจากนั้นควรจะให้ความสนใจว่าผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความเห็นของผู้บริหารด้วย 
สุดท้ายนักวิเคราะห์ระบบต้องวิเคราะห์ได้ว่า ความเป็นไปได้เรื่องค่าใช้จ่าย รวมทั้งเวลาที่ ใช้ในการพัฒนาระบบ และที่สำคัญคือ ผลประโยชน์ที่จะได้รับ เรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อรองรับผู้ขายให้ได้มากกว่า 1,000 บริษัทนั้น ควรใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นจนใช้งานได้ ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่พัฒนาจนถึงใช้งานได้จริงได้แก่ เงินเดือน เครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ เป็นต้น พูดถึงเรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับอาจมองเห็นได้ไม่ง่ายนัก แต่นักวิเคราะห์ระบบควรมองและตีออกมาในรูปเงินให้ได้ เช่น เมื่อนำระบบใหม่เข้ามาใช้อาจจะทำให้ ค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลง หรือกำไรเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริหารมีข้อมูลพร้อมที่จะช่วยในการตัดสินใจที่ดีขึ้น
การคาดคะเนทั้งหลายเป็นไปอย่างหยาบๆ เราไม่สามารถหาตัวเลขที่แน่นอนตายตัวได้เนื่องจากทั้งหมดยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง หลังจากเตรียมตัวเลขเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบก็นำตัวเลข ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ (Cost-Benefit) มาเปรียบเทียบกันดังตัวอย่างในตาราง
ค่าใช้จ่าย
ปีที่ 0
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ
200,000
-
-
-
-
-
ค่าใช้จ่ายเมื่อปฏิบัติงาน
-
50,000
52,000
60,000
70,000
85,500
ค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่ต้น
200,000
250,000
302,000
362,000
422,000
507,000
ผลประโยชน์
-
80,000
100,000
120,000
150,000
200,000
ผลประโยชน์ตั้งแต่ต้น
-
80,000
180,000
300,000
450,000
650,000

ตารางที่ 1 ตัวอย่าง cost-Bencfit ในการพัฒนาระบบหนึ่งภายในเวลา 5 ปี

จะเห็นว่าหลังจากปีที่ 3 บริษัทเริ่มมีกำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้นปัญหามีอยู่ว่าเราจะยอมขาดทุนใน 3 ปีแรก และลงทุนเริ่มต้นเป็นเงิน 200,000 บาท หรือไม่

สรุปขั้นตอนที่ 2 : การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) 
หน้าที่ : กำหนดปัญหา และศึกษาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ 
ผลลัพธ์ : รายงานความเป็นไปได้ 
เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบและคาดคะเนความต้องการของระบบ 
บุคลากรและหน้าที่ความรับผิดชอบ : ผู้ใช้จะมีบทบาทสำคัญในการศึกษา 
1. นักวิเคราะห์ระบบจะเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นทั้งหมดเกี่ยวกับปัญหา 
2. นักวิเคราะห์ระบบคาดคะเนความต้องการของระบบและแนวทางการแก้ปัญหา 
3. นักวิเคราะห์ระบบ กำหนดความต้องการที่แน่ชัดซึ่งจะใช้สำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์ต่อไป 
4. ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่
 
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) 
เริ่มเข้าสู่การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์ระบบเริ่มตั้งแต่การศึกษาระบบการทำงานของธุรกิจนั้น ในกรณีที่ระบบเราศึกษานั้นเป็นระบบสารสนเทศอยู่แล้วจะต้องศึกษาว่าทำงานอย่างไร เพราะเป็นการยากที่จะออกแบบระบบใหม่โดยที่ไม่ทราบว่าระบบเดิมทำงานอย่างไร หรือธุรกิจดำเนินการอย่างไร หลังจากนั้นกำหนดความต้องการของระบบใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องใช้เทคนิคในการเก็บข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) ดังรูป ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ ตรวจสอบวิธีการทำงานในปัจจุบัน สัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้จัดการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เอกสารที่มีอยู่ได้แก่ คู่มือการใช้งาน แผนผังใช้งานขององค์กร รายงานต่างๆที่หมุนเวียนในระบบการศึกษาวิธีการทำงานในปัจจุบันจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบรู้ว่าระบบจริงๆทำงานอย่างไร ซึ่งบางครั้งค้นพบข้อผิดพลาดได้ ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทได้รับใบเรียกเก็บเงินจะมีขั้นตอนอย่างไรในการจ่ายเงิน ขั้นตอนที่เสมียนป้อนใบเรียกเก็บเงินอย่างไร เฝ้าสังเกตการทำงานของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจและเห็นจริงๆ ว่าขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบค้นพบจุดสำคัญของระบบว่าอยู่ที่ใด 
การสัมภาษณ์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบควรจะต้องมีเพื่อเข้ากับผู้ใช้ได้ง่าย และสามารถดึงสิ่งที่ต้องการจากผู้ใช้ได้ เพราะว่าความต้องการของระบบคือ สิ่งสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบต่อไป ถ้าเราสามารถกำหนดความต้องการได้ถูกต้อง การพัฒนาระบบในขั้นตอนต่อไปก็จะง่ายขึ้น เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะนำมาเขียนรวมเป็นรายงานการทำงานของระบบซึ่งควรแสดงหรือเขียนออกมาเป็นรูปแทนที่จะร่ายยาวออกมาเป็นตัวหนังสือ การแสดงแผนภาพจะทำให้เราเข้าใจได้ดีและง่ายขึ้น หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบ อาจจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาเขียนเป็น "แบบทดลอง" (Prototype) หรือตัวต้นแบบ แบบทดลองจะเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ และที่ช่วยให้ง่ายขึ้นได้แก่ ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Language) เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้งานตามที่เราต้องการได้ ดังนั้นแบบทดลองจึงช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เมื่อจบขั้นตอนการวิเคราะห์แล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเขียนรายงานสรุปออกมาเป็น ข้อมูลเฉพาะของปัญหา (Problem Specification) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
รายละเอียดของระบบเดิม ซึ่งควรจะเขียนมาเป็นรูปภาพแสดงการทำงานของระบบ พร้อมคำบรรยาย, กำหนดความต้องการของระบบใหม่รวมทั้งรูปภาพแสดงการทำงานพร้อมคำบรรยาย, ข้อมูลและไฟล์ที่จำเป็น, คำอธิบายวิธีการทำงาน และสิ่งที่จะต้องแก้ไข. รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหาของระบบขนาดกลางควรจะมีขนาดไม่เกิน 100-200 หน้ากระดาษ

สรุป ขั้นตอนที่3 : การวิเคราะห์ (Analysis) 
หน้าที่ : กำหนดความต้องการของระบบใหม่ (ระบบใหม่ทั้งหมดหรือแก้ไขระบบเดิม) 
ผลลัพธ์ : รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหา 
เครื่องมือ : เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล, Data Dictionary, Data Flow Diagram, Process Specification, Data Model, System Model, Prototype, system Flowcharts 
บุคลากรและหน้าที่รับผิดชอบ : ผู้ใช้จะต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 
1. วิเคราะห์ระบบ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ และศึกษาระบบเดิมเพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานและทราบว่าจุดสำคัญของระบบอยู่ที่ไหน 
2. นักวิเคราะห์ระบบ เตรียมรายงานความต้องการของระบบใหม่ 
3. นักวิเคราะห์ระบบ เขียนแผนภาพการทำงาน (Diagram) ของระบบใหม่โดยไม่ต้องบอกว่าหน้ามที่ใหม่ในระบบจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร 
4. นักวิเคราะห์ระบบ เขียนสรุปรายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหา 
5. ถ้าเป็นไปได้นักวิเคราะห์ระบบอาจจะเตรียมแบบทดลองด้วย

ขั้นตอนที่4 : การออกแบบ (Design) 

ในระยะแรกของการออกแบบ นักวิเคราะห์ระบบจะนำการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วย (ถ้ามีหรือเป็นไปได้) หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะนำแผนภาพต่างๆ ที่เขียนขึ้นในขั้นตอนการวิเคราะห์มาแปลงเป็นแผนภาพลำดับขั้น (แบบต้นไม้) ดังรูปข้างล่าง เพื่อให้มองเห็นภาพลักษณ์ที่แน่นอนของโปรแกรมว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และโปรแกรมอะไรบ้างที่จะต้องเขียนในระบบ หลังจากนั้นก็เริ่มตัดสินใจว่าควรจะจัดโครงสร้างจากโปรแกรมอย่างไร การเชื่อมระหว่างโปรแกรมควรจะทำอย่างไร ในขั้นตอนการวิเคราะห์นักวิเคราะห์ระบบต้องหาว่า "จะต้องทำอะไร (What)" แต่ในขั้นตอนการออกแบบต้องรู้ว่า " จะต้องทำอย่างไร(How)" 
ในการออกแบบโปรแกรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (Security) ของระบบด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น "รหัส" สำหรับผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องออกแบบฟอร์มสำหรับข้อมูลขาเข้า (Input Format) ออกแบบรายงาน (Report Format) และการแสดงผลบนจอภาพ (Screen Fromat) หลักการการออกแบบฟอร์มข้อมูลขาเข้าคือ ง่ายต่อการใช้งาน และป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
ถัดมาระบบจะต้องออกแบบวิธีการใช้งาน เช่น กำหนดว่าการป้อนข้อมูลจะต้องทำอย่างไร จำนวนบุคลากรที่ต้องการในหน้าที่ต่างๆ แต่ถ้านักวิเคราะห์ระบบตัดสินใจว่าการซื้อซอฟต์แวร์ดีกว่าการเขียนโปรแกรม ขั้นตอนการออกแบบก็ไม่จำเป็นเลย เพราะสามารถนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งานได้ทันที สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบมาทั้งหมดในขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดจะนำมาเขียนรวมเป็นเอกสารชุดหนึ่งเรียกว่า "ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบระบบ " (System Design Specification) เมื่อสำเร็จแล้วโปรแกรมเมอร์สามารถใช้เป็นแบบในการเขียนโปรแกรมได้ทันที่สำคัญก่อนที่จะส่งถึงมือโปรแกรมเมอร์เราควรจะตรวจสอบกับผู้ใช้ว่าพอใจหรือไม่ และตรวจสอบกับทุกคนในทีมว่าถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ และแน่นอนที่สุดต้องส่งให้ฝ่ายบริหารเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการ ต่อไปหรือไม่ ถ้าอนุมัติก็ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)

สรุปขั้นตอนที่ 4 : การออกแบบ (Design) 
หน้าที : ออกแบบระบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และฝ่ายบริหาร 
ผลลัพธ์ : ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ(System Design Specification) 
เครื่องมือ : พจนานุกรมข้อมูล Data Dictionary, แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram), ข้อมูลเฉพาะการประมวลผล (Process Specification ), รูปแบบข้อมูล (Data Model), รูปแบบระบบ (System Model), ผังงานระบบ (System Flow Charts), ผังงานโครงสร้าง (Structure Charts), ผังงาน HIPO (HIPO Chart), แบบฟอร์มข้อมูลขาเข้าและรายงาน 
บุคลากรและหน้าที่ : 
1. นักวิเคราะห์ระบบ ตัดสินใจเลือกคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (ถ้าใช้) 
2. นักวิเคราะห์ระบบ เปลี่ยนแผนภาพทั้งหลายที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์มาเป็นแผนภาพลำดับขั้น 
3. นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบความปลอดภัยของระบบ 
4. นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบฟอร์มข้อมูลขาเข้า รายงาน และการแสดงภาพบนจอ 
5. นักวิเคราะห์ระบบ กำหนดจำนวนบุคลากรในหน้าที่ต่างๆและการทำงานของระบบ 
6. ผู้ใช้ ฝ่ายบริหาร และนักวิเคราะห์ระบบ ทบทวน เอกสารข้อมูลเฉพาะของการออกแบบเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์แบบของระบบ
 
ขั้นตอนที่ 5 : การพัฒนาระบบ (Construction) 
ในขั้นตอนนี้โปรแกรมเมอร์จะเริ่มเขียนและทดสอบโปรแกรมว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ ต้องมีการทดสอบกับข้อมูลจริงที่เลือกแล้ว ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้โปรแกรมที่พร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงต่อไป หลังจากนั้นต้องเตรียมคู่มือการใช้และการฝึกอบรมผู้ใช้งานจริงของระบบ
ระยะแรกในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมสถานที่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะต้องตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเรียบร้อยดี
โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (Design Specification) ปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าโปรแกรมเมอร์คิดว่าการเขียนอย่างอื่นดีกว่าจะต้องปรึกษานักวิเคราะห์ระบบเสียก่อน เพื่อที่ว่านักวิเคราะห์จะบอกได้ว่าโปรแกรมที่จะแก้ไขนั้นมีผลกระทบกับระบบทั้งหมดหรือไม่ โปรแกรมเมอร์เขียนเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด วิธีการนี้เรียกว่า "Structure Walkthrough " การทดสอบโปรแกรมจะต้องทดสอบกับข้อมูลที่เลือกแล้วชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกโดยผู้ใช้ การทดสอบเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่นักวิเคราะห์ระบบต้องแน่ใจว่า โปรแกรมทั้งหมดจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด 
หลังจากนั้นต้องควบคุมดูแลการเขียนคู่มือซึ่งประกอบด้วยข้อมูลการใช้งานสารบัญการอ้างอิง "Help" บนจอภาพ เป็นต้น นอกจากข้อมูลการใช้งานแล้ว ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานที่จะเป็นผู้ใช้งานจริงของระบบเพื่อให้เข้าใจและทำงานได้โดยไม่มีปัญหาอาจจะอบรมตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มก็ได้

สรุปขั้นตอนที่ 5 : การพัฒนาระบบ (Construction) 
หน้าที่ : เขียนและทดสอบโปรแกรม 
ผลลัพธ์ : โปรแกรมที่ทดสอบเรียบร้อยแล้ว เอกสารคู่มือการใช้ และการฝึกอบรม 
เครื่องมือ : เครื่องมือของโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย Editor, compiler,Structure Walkthrough, วิธีการทดสอบโปรแกรม การเขียนเอกสารประกอบการใช้งาน 
บุคลากรและหน้าที่ : 
1. นักวิเคราะห์ระบบ ดูแลการเตรียมสถานที่และติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ (ถ้าซื้อใหม่) 
2. นักวิเคราะห์ระบบ วางแผนและดูแลการเขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม 
3. โปรแกรมเมอร์เขียนและทดสอบโปรแกรม หรือแก้ไขโปรแกรม ถ้าซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป 
4. นักวิเคราะห์ระบบ วางแผนทดสอบโปรแกรม 
5. ทีมที่ทำงานร่วมกันทดสอบโปรแกรม 
6. ผู้ใช้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โปรแกรมทำงานตามต้องการ 
7. นักวิเคราะห์ระบบ ดูแลการเขียนคู่มือการใช้งานและการฝึกอบรม

ขั้นตอนที่ 6 : การปรับเปลี่ยน (Construction) 
ขั้นตอนนี้บริษัทนำระบบใหม่มาใช้แทนของเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เรียบร้อย และในที่สุดบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้
การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าเรียบร้อยก็เอาระบบเก่าออกได้ แล้วใช้ระบบใหม่ต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 : บำรุงรักษา (Maintenance) 
การบำรุงรักษาได้แก่ การแก้ไขโปรแกรมหลังจากการใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขระบบส่วนใหญ่มี 2 ข้อ คือ 1. มีปัญหาในโปรแกรม (Bug) และ 2. การดำเนินงานในองค์กรหรือธุรกิจเปลี่ยนไป จากสถิติของระบบที่พัฒนาแล้วทั้งหมดประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโปรแกรม เนื่องจากมี "Bug" ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ซึ่งปกติจะคิดว่าไม่มีความสำคัญมากนัก 
เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น ความต้องการของระบบอาจจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องการรายงานเพิ่มขึ้น ระบบที่ดีควรจะแก้ไขเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องการได้
การบำรุงรักษาระบบ ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการแก้ไขส่วนใดนักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบต่อระบบ และให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่
 
สรุปวงจรการพัฒนาระบบ 

หน้าที่

ทำอะไร
1. เข้าใจปัญหา1. ตระหนักว่ามีปัญหาในระบบ
2. ศึกษาความเป็นไปได้1. รวบรวมข้อมูล
2. คาดคะเนค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์และอื่น
3. ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแปลงระบบหรือไม่
3. วิเคราะห์1. ศึกษาระบบเดิม
2. กำหนดความต้องการของระบบ
3. แผนภาพระบบเก่าและระบบใหม่
4. สร้างระบบทดลองของระบบใหม่
4. ออกแบบ1. เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
2. เปลี่ยนแผนภาพจากการวิเคราะห์เป็นแผนภาพลำดับขั้น
3. คำนึงถึงความปลอดภัยของระบบ
4. ออกแบบ Input และ Output
5. ออกแบบไฟล์ฐานข้อมูล
5. พัฒนา1. เตรียมสถานที่
2. เขียนโปรแกรม
3. ทดสอบโปรแกรม
4. เตรียมคู่มือการใช้และฝึกอบรม
6. นำมาใช้งานจริง1. ป้อนข้อมูล
2. เริ่มใช้งานระบบใหม่
7. บำรุงรักษา1. เข้าใจปัญหา
2. ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไข
3. ตัดสินใจว่าจะแก้ไขหรือไม่
4. แก้ไขเอกสาร คู่มือ
5. แก้ไขโปรแกรม
6. ทดสอบโปรแกรม
7. ใช้งานระบบที่แก้ไขแล้ว

คำศัพท์บทที่ 11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.การพัฒนากลยุทธ์Strategy Development
2.ยุทธ์วิธีการวางแผนระบบสารสนเทศ Tactical information systems planning
3.การวางแผนระบบสารสนเทศ Operational IS planning
4.การวางแผนโครงการ Project planning
5.สถาปัตยกรรมเทคโนโลยี Technology architecture
6.หัวหน้าผู้สำนักงานฝ่ายบริหาร = Chief Executive Officer
7.พัฒนาการจัดการโครงการ Project management
8.ร่วมกันวางแผนกลุ่ม = Planning teams
9.การจัดการทรัพยากร = Resource management
10.หัวหน้าสำนักงานสารสนเทศChief Information Officer